เมนู

มหาปัญญวรรควรรณนาที่ 7



พึงทราบอธิบายในมหาปัญญวรรคที่ 7.
พึงทราบเนื้อความในทุกบท ตามนัยที่กล่าวในปฏิสัมภิทาโดยนัยเป็น
ต้นว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญามาก เพราะอรรถว่า กำหนดเอาในเนื้อความมาก ใน
บทเป็นต้นว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังนี้นั่นเทียว.
คำที่เหลือในทุก ๆ บทตื้นทั้งนั้นแล.
จบมหาปัญญวรรควรรณนาที่ 7
จบโสตาปัตติสังยุตที่ 11

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. มหาปัญญสูตร 2. ปุถุปัญญสูตร 3. วิปุลลปัญญสูตร 4. คัมภีร-
ปัญญสูตร 5. อัปปมัตตปัญญสูตร 6. ภูริปัญญสูตร 7. พาหุลปัญญสูตร
8. สีฆปัญญสูตร 9. ลหุปัญญสูตร 10. หาสปัญญสูตร 11.ชวนปัญญสูตร
12. ติกขปัญญสูตร 13. นิพเพธิกปัญญสูตร.

สัจจสังยุต



สมาธิวรรคที่ 1



1. สมาธิสูตร



ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง



[1654] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญ
สมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความ
เป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข
นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบสมาธิสูตรที่ 1

สัจจสังยุตตาวรรณนา



สมาธิสูตร



พึงทราบอธิบายในสมาธิสูตรที่ 1 แห่งอรรถกถาสัจจสังยุต.
คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... สมาธิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุ
เหล่านั้น ย่อมเสื่อม จากเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ลำดับนั้น พระศาสดาทรง